วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คำคมจาก oknation

นักกีฬาทีมชาติ อาจพ่ายแพ้การแข่งขันได้

พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ก็อาจแพ้การเลือกตั้งได้

ไม่มีผลเสียหายแก่ประเทศชาติ

แต่กองทัพจะแพ้สงครามไม่ได้

หากแพ้ ประเทศชาติเสียหายแน่นอน


กองทัพต้องเข้มแข็ง

มีแต่รัฐบาลและการเมืองเลวๆเท่านั้น

ที่ต้องการให้กองทัพอ่อนแอ


กีฬาอัปยศ . . ผู้เล่นใช้เล่ห์เหลี่ยม กติกา เปิดช่องให้โกง

กรรมการถูกซื้อ ทนดูอยู่ได้อย่างไร


อ้างนโยบายรัฐบาล อ้างจะทำเพื่อสิ่งที่ดี

เช่นเพื่อเสรี-เศรษฐกิจการค้าชายแดน

แต่ที่กำลังทำ ล้วนทำแต่สิ่งเลว เช่นโกงระเบียบ,เลี่ยงกฎหมาย

ลักลอบนำเข้า - ค้ามนุษย์,ค้ายาเสพติด ฯลฯ

เมื่อถูกขัดขวางก็อ้างนโยบายและอ้างสิ่งที่ดี แล้วมันจะดีไปได้อย่างไร


ประชาธิปไตย ตามรูปแบบ อยู่ที่ การเลือกตั้ง

ประชาธิปไตย โดยเนื้อหา อยู่ที่ สิทธิ เสรีภาพ ความโปร่งใส

ประชาธิปไตย ที่ผลลัพธ์ อยู่ที่ ประโยชน์สุขของประชาชน

เมื่อมีแต่...การเลือกตั้งที่คดโกง การบริหารราชการที่ฉ้อฉล ;

ประโยชน์สุขของประชาชนจะได้มาจากไหน ?

อย่ามุ่งแต่รูปแบบ โดยไม่สนใจ เนื้อหา และผลลัพธ์

ต้องมุ่งที่ผลลัพธ์ แล้วเนื้อหา และรูปแบบ จะตามมาเอง


"ต่างชาติ รังเกียจ รัฐประหาร มาก

แต่ทึ่งมากที่เห็นบรรยากาศรัฐประหารในประเทศไทย (ภาพมอบดอกไม้ทหาร)

ต่างชาติ ชื่นชม การเลือกตั้ง

แต่ยังไม่เคยเห็นบรรยากาศการเลือกตั้งในประเทศไทย

ถ้าเห็น จะเลิกรังเกียจ และเลิกทึ่งรัฐประหาร"


"....ทำงานกันยังไง ? ถึงทำให้....

คนเลว ได้รับความคุ้มครองด้วยร่มเงา 'สิทธิมนุษยชน'

แล้วทำร้ายบ้านเมือง ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า อยู่อย่างนั้น

คนดี กลับถูกครอบงำด้วย 'เงาปีศาจ'

ไม่กล้า แม้แต่จะชี้เบาะแส

ไม่กล้าที่จะมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาบ้านเมือง

เพราะกลัว คนเลว"


"สันติภาพ จะได้มา ก็ด้วย ความเข้มแข็ง ( ไม่ใช่ด้วยการร้องขอจากใคร )
( Peace is achieved through strength )

ความปลอดภัย; หาไม่ได้ ภายใต้ ความอ่อนแอ
( There is no safety within weakness )

ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน - ดีที่สุดคือ ต้องสามารถพูดได้ว่า
"จะรบก็ได้นะ" ( เพราะเราเข้มแข็งกว่าเสมอ )
ไม่ใช่คอยกลัวแต่ว่าเขาจะโกรธ กลัวเขาจะไม่ค้าขายด้วย ...."


คลั่ง ประชาธิปไตย

อย่าลืมห่วงใย ประเทศชาติ

โกรธการยึดอำนาจด้วย ปืน

อย่าลืม... เกลียดการซื้ออำนาจด้วย เงิน


"ทรราช"

ซื้ออำนาจด้วย เงิน ฉ้อฉลจนชาติยับเยิน

"ทหาร"

ยึดอำนาจด้วย ปืน เพื่อคืนประชาธิปไตยให้ปวงชน


ความยากจน ไม่ใช่เหตุผลของการทำร้ายบ้านเมือง

เช่นอ้างว่า เพราะจน จึงต้องค้ายาเสพติด ฯลฯ

แต่ต้องคิดว่า ถึงจน ก็ไม่ทรยศชาติ

ความกลัว ก็ไม่ใช่อุปสรรค ที่จะแสดงความรักชาติ

ความรักชาติ ไม่จำเป็นต้องปลอดภัย

พึงรู้ว่า กลัวไปจนสิ้นชาติ สุดท้ายก็ไม่รอดอยู่ดี


"คนไทยควรตั้งสติให้มั่น"

อย่าทำตัวเป็นแค่ประชาชน แล้วสำคัญตนผิด

เรียกร้องแต่สิทธิ์ คิดเอาแต่ได้

แต่ต้องเป็นพลเมือง คือ พละกำลัง เพื่อการบำรุงรักษา

และแก้ไขปัญหาบ้านเมือง

ทรราช และ การเมืองเลว อาจฉ้อฉล

และแอบอ้างประชาชนได้ แต่ไม่สามารถทำได้กับพลเมือง

ล้านคะแนนเสียงของ ประชาชน

ก็ไม่มีความหมายเท่าหนึ่งคะแนนเสียงของ พลเมือง


"ทหาร" คือ หน่วยงานความมั่นคงของประเทศชาติ

มิใช่ กรรมกรท้ายแถว

ที่จะต้องตามไปใช้แรงงานในการแก้ไขปัญหา

ให้ หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ทหาร เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่ม วิเคราะห์ และแก้ไขสถานการณ์

เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประเทศชาติบ้านเมือง

และประชาชนทุกหมู่เหล่า

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

อ.ธีรภัทร และ อ.สามารถ เข้าร่วมประชุม จัดตั้งคลัสเตอร์ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์



20 ก.ย. 2554
head_2.jpgวันที่ 16-17 กันยายน 2554 ผศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในการประชุมคลัสเตอร์ครุศึกษา ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการจัดตั้งคลัสเตอร์ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) โดยมีมหาวิทยาลัยเครือข่ายคลัสเตอร์เข้าร่วมจำนวน 12 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยการประชุมครั้งนี้มีการเสวนาเกี่ยวกับหลักสูตรการผลิตครูคณิตศาสตร์ แนวทางการพัฒนาคณาจารย์ในโครงการวิจัยฯ และนวัตกรรมที่ใช้เพื่อการพัฒนานักศึกษาครูและวิชาชีพครูอีกด้วย
imgp1614_800x532.jpg imgp1635_800x532.jpg
imgp1590_800x532.jpg dsc03769_800x600.jpg
imgp1646_800x532.jpg 

ข้อมูลจาก : มหาวิทยาลัยขอนแก่น http://www.news.kku.ac.th/kkunews/content/view/9597/

Blog (Weblog) คืออะไร


    Blog (ภาษาไทย: บล็อก) เป็นคำรวมมาจากคำว่า weblog (ภาษาไทย: เว็บล็อก) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภท หนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอใน หลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"
          บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์
          เว็บค้นหาบล็อกเทคโนราที ได้อ้างไว้ว่าปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมากกว่า 112 ล้านบล็อกทั่วโลก